เมนู

กรรมนั้น เขาจึงหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี
หลายแสนปี ด้วยผลของกรรมนั่นแหละที่ยังเหลืออยู่ เขาจึงต้องเสวยการ
ได้อัตภาพเห็นปานนี้.
จบอัฏฐิสูตรที่ 1
[สูตรทุกสูตรนี้ขึ้นต้นเหมือนสูตรที่ 1 แต่มีเนื้อความต่างกันต่อไปนี้]

ลักขณสังยุต



ปฐมวรรคที่ 1



อรรถกถาอัฏฐิสูตรที่ 1



ในลักขณสังยุตมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระลักขณเถระ ที่ท่านกล่าวว่า อายสฺมา จ ลกฺขณตฺเถโร
เป็นผู้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นผู้หนึ่งแห่งชฏิลจำนวน 1,000
คน บรรลุพระอรหัตในเวลาจบอาทิตตปริยายสูตร พึงทราบว่า เป็น
พระมหาสาวกรูปหนึ่ง. ก็เพราะเหตุที่ท่านประกอบด้วยอัตภาพสมบูรณ์
ด้วยลักษณะ บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง เสมอด้วยพรหม. ฉะนั้น จึง
ได้สมญาว่าลักขณะ. ส่วนท่านมหาโมคคัลลานะบรรลุพระอรหัตในวันที่ 7
นับแต่วันที่ท่านบวช เป็นพระอัครสาวกองค์ที่ 2.
บทว่า สิตํ ปาตฺวากาสิ ความว่า ได้กระทำการแย้มน้อย ๆ ให้
ปรากฏ ท่านอธิบายไว้ว่า ประกาศ คือแสดง.

ถามว่า ก็เพราะเห็นอะไร พระเถระจึงกระทำการแย้มให้ปรากฏ.
ตอบว่า เพราะได้เห็นสัตว์ผู้เกิดในเปตโลกตนหนึ่ง มีแต่ร่าง
กระดูก ซึ่งมาแล้วในบาลีข้างต้น . ก็แล ท่านเห็นสัตว์นั้นด้วยทิพยจักษุ
หาได้เห็นด้วยปสาทจักษุไม่. จริงอยู่ อัตภาพเหล่านั้นย่อมไม่ปรากฏแก่
ปสาทจักษุ. ถามว่า ก็เมื่อท่านเห็นอัตภาพเห็นปานนี้แล้วควรกระทำ
ความกรุณา เพราะเหตุไรจึงกระทำการแย้มให้ปรากฏ. ตอบว่า เพราะ
ระลึกถึงสมบัติของตน และพุทธญาณ. จริงอยู่ พระเถระเห็นอัตภาพ
นั้นแล้ว ระลึกถึงสมบัติของตนว่า "เราหลุดพ้นแล้วจากอัตภาพเห็น
ปานนี้ ที่บุคคลผู้ไม่เห็นสัจจะจะพึงได้ นั่นเป็นลาภของเราหนอ เรา
ได้ดีแล้วหนอ และระลึกถึงสมบัติแห่งพุทธญาณ อย่างนี้ว่า โอ ญาณ-
สมบัติของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กรรมวิบากเป็นอจินไตย ไม่ควรคิด ดังนี้ พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายย่อมทรงแสดงกรรมวิบากอันนั้นให้ประจักษ์หนอ. ธรรมธาตุอัน
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแทงตลอดดีแล้ว" ดังนี้ จึงทำความแย้มให้
ปรากฏ.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรท่านพระลักขณะจึงไม่เห็น ท่านไม่มี
ทิพยจักษุหรือ.

ตอบว่า ไม่มี หามิได้. แต่พระมหาโมคคัลลานเถระนึกถึงอยู่จึง
ได้เห็น. ฝ่ายพระลักขณเถระไม่ได้เห็นเพราะไม่นึกถึง. เพราะธรรมดา
พระขีณาสพทั้งหลาย จะแย้มโดยเหตุอันไม่สมควรก็หาไม่ ฉะนั้น พระ-
ลักขเถระจึงถามท่านว่า "ท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็น
ปัจจัยให้การแย้มปรากฏ"
ดังนี้. ฝ่ายพระเถระได้อ้างพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นพยาน เพราะผู้ที่มิได้เห็นเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ด้วยตนเองจะเชื่อได้ยาก
จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อกาโล โข อาวุโส ดังนี้ เพราะประสงค์จะ
พยากรณ์อ้างพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพยาน ต่อแต่นั้น เมื่อถูกถามใน
สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพยากรณ์โดยนัยมีอาทิว่า อิธาหํ
อาวุโส
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฏฺฐสงฺขลิกํ ได้แก่โครงกระดูกขาว
ไม่มีเนื้อและเลือด. บทว่า คิชฺฌาปิ กากาปิ กุลลาปิ ความว่า แม้
นกเหล่านี้ ทั้งแร้งยักษ์ ทั้งกายักษ์ ทั้งพญาแร้งยักษ์ เข้ารุม ก็รูป
อย่างนั้นย่อมไม่ปรากฏแก่แร้งเป็นต้นตามปกติ. บทว่า อนุปติตฺวา ได้
แก่ติดตาม. บทว่า วิตุเทนฺติ ความว่า ใช้จะงอยปากเหล็กซึ่งคมกริบ
เหมือนดาบ เจาะตัดถากข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง. บทว่า สุทํ ในบทว่า
สา สุทํ อฏฺฏสฺสรํ กโรติ นี้ เป็นนิบาต. อธิบายว่า โครงกระดูกนั้น
ส่งเสียงร้องครวญคราง คือเสียงแสดงความอาดูรเดือดร้อน. อัตภาพ
เช่นนั้นมีประมาณถึง 3 โยชน์ บังเกิดขึ้นเพื่อเสวยวิบากของอกุศลกรรม
เป็นอัตภาพใสขึ้นพองเหมือนฝีสุก. ฉะนั้น โครงกระดูกนั้นเดือดร้อน
เพราะเวทนามีกำลัง จึงส่งเสียงร้องประหลาดเช่นนั้น.
ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงคิดว่า
ธรรมดาสัตว์ผู้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะ ย่อมไม่พ้นจากอัตภาพเห็นปานนี้ เมื่อจะ
แสดงธรรมสังเวชที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงกล่าว
คำมีอาทิว่า ตสฺส มยฺหํ อาวุโส เอตทโหสิ อจฺฉริยํ วต โภ ดังนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศอานุภาพของพระเถระ

จึงตรัสคำมีอาทิว่า จกฺขุภูตา วต ภิกฺขเว สาวกา วิหรนฺติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น สาวกชื่อว่า จกฺขุภูตา เพราะภิกษุเหล่านั้นเกิดมีจักษุ.
อธิบายว่า ภิกษุเหล่านั้นมีจักษุเกิด ยังจักษุให้เกิดขึ้นอยู่. แม้ในบทที่ 2
ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ยตฺร ในคำว่า ยตฺร หิ นาม นี้บ่งถึงเหตุ. ใน
ข้อนั้นมีอัตถโยชนาประกอบความดังต่อไปนี้ แม้ธรรมดาว่าสาวกย่อมรู้เห็น
สัตว์เห็นปานนี้ หรือจักกระทำให้เป็นพยานได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายเป็นผู้มีจักษุหนอ เป็นผู้มี
ญาณหนอ ด้วยคำว่า ปุพฺเพว เน โส ภิกฺขเว สตฺโต ทิฏฺโฐ
ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราเมื่อกระทำสัตตนิกาย และภพ คติ
โยนิ ฐิติ นิวาส อันหาประมาณมิได้ ในจักรวาลอันหาประมาณมิได้
ให้เป็นพยานด้วยการแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิมัณฑสถาน
ได้เห็นสัตว์นั้นแล้วในกาลก่อนแล.
บทว่า โคฆาตโก ได้แก่ สัตว์ผู้ฆ่าโคแล่กระดูกและเนื้อขายเลี้ยงชีพ.
บทว่า ตสฺเสว กมฺมสฺส วิปากาวเสเสน ความว่า อปราปริยกรรมนั้น
อันประมวลไว้ด้วยเจตนาต่าง ๆ. จริงอยู่ เมื่อวิบากของเจตนาอันเป็นเหตุ
ให้เกิดปฏิสนธิในนรกนั้นสิ้นแล้ว ปฏิสนธิกระทำกรรมที่เหลือ หรือกรรม
นิมิตให้เป็นอารมณ์แล้วเกิดในเปรตเป็นต้นอีก. เพราะเหตุนั้น ปฏิสนธินั้น
ท่านเรียกว่า เป็นเศษวิบากของกรรมนั้นเอง เพราะมีส่วนเสมอกับกรรม
หรือเพราะมีส่วนเสมอกับอารมณ์. ก็สัตว์นี้เกิดขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ด้วยเศษวิบากของกรรมนั้นนั่นแล.

ได้ยินว่า ในเวลาที่สัตว์นั้นจุติจากนรก กองกระดูกของโคทั้งหลาย
ที่ไม่มีเนื้อนั่นแล ได้ปรากฏเป็นนิมิต. สัตว์นั้นกระทำกรรมที่ปกปิดไว้
แม้นั้นเหมือนปรากฏแก่วิญญูชน จึงเกิดเป็นอัฏฐิสังขลิกเปรต.
จบอรรถกถาอัฏฐิสูตรที่ 1

2. เปสิสูตร



ว่าด้วยชิ้นเนื้อลอยในอากาศ



[641] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลงมา
จากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นชิ้นเนื้อลอยอยู่ในเวหาส พวกแร้งบ้าง กาบ้าง
นกตะกรุมบ้าง ต่างก็โผถลาตามจิกทิ้งชิ้นเนื้อนั้น ได้ยินว่า ชิ้นเนื้อนั้น
ส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้ได้เป็นคน
ฆ่าโค อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง.
จบเปสิสูตรที่ 2

อรรถกถาเปสิสูตรที่ 2



ในเรื่องชิ้นเนื้อ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โคฆาตโก ความว่า ผู้ฆ่าโคนั้นชำแหละเนื้อโคเป็นชิ้น ๆ
ตากให้แห้ง ขายเนื้อแห้งเลี้ยงชีวิตอยู่อุทายี. ด้วยเหตุนั้น ในเวลาที่